Emergency Response Information สารที่ทำให้เกิดระเบิด
และวัตถุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย (Division 1.4) 1.คุณสมบัติต่างๆ *สารที่ทำให้เกิดระเบิด
หรือวัตถุที่มีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับระเบิด (เช่น ดินระเบิด) *อาจเป็นพิษเพิ่มขึ้นหรือมีความเสี่ยงจากการกัดกร่อน 2.อันตรายต่างๆ *ลดความเสี่ยงจากการระเบิด ผลกระทบจะจำกัดอยู่ในตัวบรรจุภัณฑ์ *อาจปล่อยฟูมพิษ หรือ ฟูมกัดกร่อน ในเพลิงไหม้ 3.การป้องกันส่วนบุคคล *หน้ากากป้องกันก๊าซพิษพร้อมถังอัดอากาศ 4.ปฏิบัติการแทรกแซง 4.1 บททั่วไป *ห้ามสูบบุหรี่ และกำจัดแหล่งประกายไฟ
ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียงกับสินค้า *รักษาระยะห่าง
และอยู่ในตำแหน่งที่ป้องกันอย่างเหมาะสมทันที *Public Safety Hazard เตือนประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง
และอพยพออกจากบริเวณอันตรายทันที *ลดจำนวนพนักงานในบริเวณที่มีความเสี่ยง *ห้ามแตะต้องสารหรือวัตถุที่หก *หากจำเป็น ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ควบคุม
4.2 การหก หรือรั่วไหล *ไม่ควรใช้มาตรการใดๆ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทันที *หากสารรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำ หรือท่อระบายน้ำ
ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
4.3 เพลิงไหม้ (ที่เกี่ยวกับสาร) *ไม่ควรดับไฟ แต่ควรปล่อยให้ไหม้ต่อไป *หากไฟยังไม่ลามถึงบริเวณที่เก็บสินค้า
ให้ดับไฟด้วยวิธีการต่างๆ ที่มีอยู่ *ควรอยู่ดับไฟในบริเวณที่มีการป้องกันเพื่อลดอัน
ตรายต่อพนักงาน และไม่ใช้การเฝ้าระวังด้วยบุคคล *อพยพผู้คนออกจากพื้นที่อันตรายในรัศมีไม่น้อยกว่า 100 เมตร *ให้พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลในกรณีฉุกเฉินออกจากพื้นที่อันตรายใน
รัศมีไม่น้อยกว่า 25 เมตร 5.การปฐมพยาบาล *ในกรณีทีถูกไฟลวก
ควรใช้น้ำเย็นราดบริเวณที่ถูกลวกให้นานที่สุด และไม่ควรถอดเสื้อผ้าที่ติดกับผิวหนัง *บุคคลใดที่เคยสัมผัสกับสาร หรือสูดฟูมเข้าไป
ควรจะไปพบแพทย์ทันที และแจ้งรายละเอียดข้อมูลของสารเคมีต่อแพทย์ 6.ข้อควรระวังสำคัญสำหรับการทำให้สินค้าคืนสู่สภาพเดิม *ไม่ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือตามมาตรฐาน
ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทันที 7.ข้อควรระวังหลังจากการแทรกแซง 7.1 ควรถอดชุดออก *ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญถึงวิธีการที่จัดการกับสิ่งปนเปื้อน
7.2 การทำความสะอาดอุปกรณ์ *ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะออกจากเขตอุบัติเหตุ |