คลังภาพและวีดีโอ

วีดีทัศน์ สัมมนาศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)


รายละเอียด
จำนวนเข้าดู 4146


Link : https://youtu.be/Vt9P_7zlL54

กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนาศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เพื่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ของ 6 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง


วันนี้ (10 พฤษภาคม 2562) เวลา 09.00 น. ณห้องจูปิเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานครนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนา “ศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)” ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนส่งเห็นถึงโอกาสและความท้าทายในการประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การจัดสัมมนาศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อยกระดับและพัฒนากลไกในการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าทางถนนด้วยรถบรรทุกระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ตามกรอบความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงประกอบด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ราชอาณาจักรกัมพูชา, สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, สาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) และราชอาณาจักรไทย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนของไทย จะได้ทราบถึงสถานการณ์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศในกลุ่ม GMS ทั้งในส่วนของการขนส่งข้ามแดน (Inter-State) และการขนส่งผ่านแดน (Transit) ตามกรอบความตกลงที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันรวมถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางตามระเบียงเศรษฐกิจ อาทิแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) เชื่อมโยงระหว่างไทย พม่า/สปป.ลาว และจีน แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) เชื่อมโยงระหว่างเวียดนาม สปป.ลาว ไทย และพม่า แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) เชื่อมโยงระหว่าง ไทย กัมพูชา และเวียดนาม รวมถึงแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบ และการพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศ ทั้งที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย และศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม

ทั้งนี้การจัดงานสัมมนาศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้แทนกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ผู้แทนคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ผู้แทนสมาคมประกันวินาศภัยไทย ผู้แทนสหพันธ์การขนส่งทางรถบรรทุกแห่งอาเซียน (ATF) และผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้าจากประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ร่วมเสวนาถึงสถานการณ์การขนส่งของไทยและความท้าทายด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน ทั้งยังเป็นโอกาสในการขยายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้แข็งแกร่งมากขึ้น เกิดการสร้างความร่วมมือเชิงบูรณาการร่วมกันสามารถเปิดประตูการค้าชายแดนระหว่างกัน ลดอุปสรรคทางการค้า รวมถึงร่วมกันพัฒนาศักยภาพของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS)ให้เติบโตได้อย่างมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป


Share :



วีดีทัศน์ สัมมนาศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)
24 พ.ค. 2562


Link : https://youtu.be/Vt9P_7zlL54

กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนาศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เพื่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ของ 6 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง


วันนี้ (10 พฤษภาคม 2562) เวลา 09.00 น. ณห้องจูปิเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานครนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนา “ศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)” ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนส่งเห็นถึงโอกาสและความท้าทายในการประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การจัดสัมมนาศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อยกระดับและพัฒนากลไกในการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าทางถนนด้วยรถบรรทุกระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ตามกรอบความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงประกอบด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ราชอาณาจักรกัมพูชา, สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, สาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) และราชอาณาจักรไทย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนของไทย จะได้ทราบถึงสถานการณ์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศในกลุ่ม GMS ทั้งในส่วนของการขนส่งข้ามแดน (Inter-State) และการขนส่งผ่านแดน (Transit) ตามกรอบความตกลงที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันรวมถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางตามระเบียงเศรษฐกิจ อาทิแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) เชื่อมโยงระหว่างไทย พม่า/สปป.ลาว และจีน แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) เชื่อมโยงระหว่างเวียดนาม สปป.ลาว ไทย และพม่า แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) เชื่อมโยงระหว่าง ไทย กัมพูชา และเวียดนาม รวมถึงแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบ และการพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศ ทั้งที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย และศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม

ทั้งนี้การจัดงานสัมมนาศักยภาพและโอกาสการขนส่งไทยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้แทนกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ผู้แทนคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ผู้แทนสมาคมประกันวินาศภัยไทย ผู้แทนสหพันธ์การขนส่งทางรถบรรทุกแห่งอาเซียน (ATF) และผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้าจากประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ร่วมเสวนาถึงสถานการณ์การขนส่งของไทยและความท้าทายด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน ทั้งยังเป็นโอกาสในการขยายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้แข็งแกร่งมากขึ้น เกิดการสร้างความร่วมมือเชิงบูรณาการร่วมกันสามารถเปิดประตูการค้าชายแดนระหว่างกัน ลดอุปสรรคทางการค้า รวมถึงร่วมกันพัฒนาศักยภาพของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS)ให้เติบโตได้อย่างมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป